วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructivism

Constructivism มีแนวคิดหลักว่า ในการเรียนผู้เรียนต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ (active) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยผู้เรียนต้องอาศัยประสบการณ์เดิม และโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกัน ตามลักษณะนิสัย และต้องมีแรงจูงใจเพื่อนำไปสู่การคิดหาวิธีแก้ไข ปัญหาความสำคัญของกระบวนการสร้างความรู้โดยที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมโดยมีครูเป็นผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นผู้เรียน

constructivist ได้กล่าวถึงทฤษฎีของ Piaget มีความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้โดยกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบด้วยกลไกพื้นฐาน 2 อย่างคือ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการปรับโครงสร้าง (accommodation)


1.ธรรมชาติของผู้เรียน

ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพราะฉะนั้น การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมีลักษณะแตกต่างกัน เพราะแต่ละบุคคล จะมีการรับรู้ข้อมูล การตีความข้อมูล หรือการหาแหล่งข้อมูลต่างที่แตกต่างกัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ ดังนั้นผู้เรียนจึงควรมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้

2. บทบาทของผู้สอน
ผู้สอนจะมีหน้าที่ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา หรือคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน และการออกแบบบรรยากาศในการเรียนรู้นั้นจะต้องให้ผู้เรียนเกิดการกระตุ้นการเรียนรู้และต้องมีความท้าทาย จึงทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด

3. กระบวนการลักษณะการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้โดยมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง และสภาพแวดล้อมรอบด้าน



4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ผู้เรียนกับผู้สอนมีความสัมพันธ์กันโดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ซับซ้อน และให้ความรู้ต่างๆ ส่วนผู้เรียนได้ประโยชน์จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอน ทำให้เกิดกระบวนเรียนรู้ การเชื่อมโยงเนื้อหา และเกิดเป็นความรู้ใหม่ กระบวนการคิด

5. การร่วมมือกันระหว่างผู้เรียน
มีการทำงานกลุ่ม มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การยอมรับฟังความคิดเห็น และข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น โดยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ร่วมมือกัน

6. บริบทสำคัญของกระบวนการทัศน์ constructivism
เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีการเชื่อมโยงองค์ความรู้เก่าและความรู้ใหม่


7. ด้านการประเมิน
เน้นประเมินศักยภาพของผู้เรียนที่แท้จริง เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการทำงาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

8. ขอบเขตในการจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากศาสตร์สาขาต่างๆ และการเรียนจะประสบความสำเร็จได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แต่ต้องใช้หลายวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้าง

9. กระบวนการเรียนรู้
- การเรียนรู้แบบการสืบค้น
- การเรียนรู้แบบใช้ปัญหา
- การฝึกกระบวนการคิด
- การเรียนแบบจิ๊กซอว์
10. สรุป constructivism
constructivism เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษา ที่เน้นการสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนต้องสร้างองค์ความรู้ ด้วยการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับความรู้ ใหม่ ซึ่งอาศัยบรรยากาศที่เหมาะสม ด้วยกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น