วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Habits of Mind

A. Values and Attitudes ค่านิยมและทัศนคิ

Grades 9 through 12

By the end of the 12th grade, students should

1. ต้องเป็นคนอยากรู้อยากเห็น มีความซื่อสัตย์ ใจกว้าง ไม่เชื่อในสิ่งที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

2. มองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ (มองในทางบวกไม่มีอคติ)

and students should know that

1. ทฤษฎีใหม่จะเป็นที่ยอมรับได้ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการและแนวคิดอื่นๆ ซึ่งจะสามารถนำไปอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้

2. สมมติฐานสามารถนำมาใช้ทดสอบทฤษฎีและนำมาใช้ในการคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆ

3. กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียนโดยการตั้งคำถามที่จะต้องใช้กระบวนการคิดที่ซับซ้อน

B. Computation and Estimation

Grades 9 through 12

By the end of the 12th grade, students should be able to

1. ใช้อัตราส่วนและสัดส่วนที่เหมาะสม รวมทั้งอัตราคงที่ เพื่อให้การคำนวณการแก้ปัญหาจริง

2. สามารถค้นหาคำตอบของปัญหาโดยการใช้ความรู้ทางพีชคณิตมาคำนวณหาคำตอบเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น

3. สามารถออกแบบขั้นตอนการทดลองเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้

4. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ ในการสร้างกราฟเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

5. เปรียบเทียบข้อมูลสองกลุ่มโดยแสดงค่าเฉลี่ยและนำเสนอข้อมูลโดยกราฟ

6. เมื่อต้องการที่จะเปรียบเทียบสิ่งที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่โดยใช้ตัวเลข ทางพีชคณิตคือ 0 -10

7. ทราบแหล่งที่มีของข้อมูล

8. พิจารณาผลที่เป็นไปได้ของความผิดพลาดในการคำนวณการวัด

C. Manipulation and Observation

Grades 9 through 12

By the end of the 12th grade, students should be able to

1. ทำตามคำแนะนำในคู่มือหรือสอบถามจากผู้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิธีการใช้งานอุปกรณ์ ไฟฟ้าชนิดต่างๆ

2. สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบเครื่องกลไฟฟ้า โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญได้

3. พัฒนาฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่างง่ายในการจัดเก็บข้อมูล

D. Communication Skills ทักษะการสื่อสาร

Grades 9 through 12

By the end of the 12th grade, students should be able to

1. สามารถบอกความหมายของสิ่งต่างๆ จากภาพวาดได้

2. นำความรู้ทางสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

3. ใช้ข้อความที่อธิบายความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง เช่นคำดังต่อไปนี้ ถ้า- แล้ว, หรือ, และ ,ปัจจัย, บางสิ่งบางอย่าง,ทั้งหมด,สิ่งที่มีความสัมพันธ์ร่วมกัน,สาเหตุ

4. ร่วมกันอภิปรายกลุ่มในหัวข้อทางวิทยาศาสตร์ และทำซ้ำเรื่อยๆ จนเกิดทักษะ

5. ใช้ตาราง กราฟ ในการหาเหตุผล เพื่ออ้างอิงเพื่อนำไปสู่การนำเสนอข้อมูล

6. ใช้สัญลักษณ์ทางสมการเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุและเหตุการณ์ต่างๆ

E. Critical-Response Skills

Grades 9 through 12

By the end of the 12th grade, students should

1. สังเกต และ ใช้วิจารณญาณ ในการหาข้อผิดพลาดของข้อมูล เช่น ในกรณีการหาค่าเฉลี่ยของปริมาณต่างๆ

2. สามารถตรวจสอบความถูกต้องของกราฟว่ามีความผิดพลาดมากน้อยแค่ไหน

3. พิจารณาเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นได้ (คาดเดาเหตุการณ์)

4. สามารถยืนยันสมมติฐานโดยใช้ข้อเท็จจริงที่มีความชัดเจนมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้เกิดความน่าเชื่อถือ

5. สังเกตและวิพากษ์วิจารณ์และเลือกสรรข้อมูลที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการโต้แย้ง

6. สังเกตและวิพากษ์วิจารณ์ข้อเท็จจริงเฉพาะข้อมูลที่มีความเป็นไปได้

7. เสนอแนะทางเลือกในการตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพและสาขาที่ต้องการศึกษา

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

A. The Scientific Worldview : วิสัยทัศน์ทางวิทยาศาสตร์

Grades 9 through 12

ByA the end of the 12th grade, students should know that

1. สมมติฐานเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในเอกภพ ซึ่งในการศึกษาต้องมีระบบระเบียบแบบแผน

2. เวลาผ่านไปทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงทำให้กลายเป็นความรู้ใหม่ที่มีคุณสมบัติชัดเจนถาวรขึ้นกว่าเดิม

3. ทฤษฏีสามารถอธิบายสิ่งต่างๆที่สังเกตได้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

4.ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เช่น กฎ ทฤษฎี แนวคิด ข้อเท็จจริง หรือ หลักการ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามีข้อมูลมาสนับสนุน

5. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบได้ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และสามารถพัฒนาเพื่อให้ได้คำอธิบายที่น่าเชื่อถือสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขั้นในธรรมชาติได้

B . Scientific Inquiry

Grades 9 through 12

By the end of the 12th grade, students should know that

1. การสำรวจตรวจสอบปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสามารถใช้ทฤษฎีที่สร้างใหม่โดยอาศัยพื้นฐานทฤษฎีเดิมมาอธิบาย

2. การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้โดยการตั้งสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ไปสรุปความหมาย

3. บางครั้งนักวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมเงื่อนไขเพื่อให้ได้เพื่อหาหลักฐานโดยใช้เหตุผลและจินตนาการเพื่อนำไปอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ

4. มีวิธีการที่แตกต่างกันในการตรวจสอบข้อมูลในทางวิทยาศาสตร์โดยการพิสูจน์ตามหลักฐานเชิงประจักษ์

5. เมื่อพบปัญหาต้องตั้งสมมติฐานและทำการตรวจสอบสมมติฐานนั้นโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ผล ซึ่งข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงปราศจากการลงความคิดเห็น

6. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการสังเกตในระยะเวลาสั้นๆ พบว่าจะไม่สามารถอธิบายสิ่งที่สังเกตได้หลังจากนั้นจะถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

7.ทฤษฏีที่ได้จากการสังเกตและเก็บข้อมูลในระยะยาวพบว่าทฤษฎีนั้นจะสามารถอธิบายปรากฏได้อย่างถูกต้อง

8. ความคิดใหม่ของนักวิทยาศาสตร์มีบริบทที่จำกัดซึ่งพวกเขาได้คิดขึ้น แต่ก็ถูกปฏิเสธด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งก็มีสาเหตุมาจากการไม่คาดหวังในการค้นพบ และทำได้ช้า ต้องได้รับการสนับสนุนจากการสืบเสาะหลายๆทาง
9. สัญชาติ เพศ อายุ ถิ่นกำเนิด การถูกลงโทษทางการเมืองของนักวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ อาจทำให้มีความโอนเอียงในการแปลเหตุการณ์ต่างๆ
10.เพื่อให้เป็นประโยชน์ สมมติฐานควรเป็นสิ่งที่สนับสนุนและขัดแย้ง สมมติฐานไม่มีในหลักการ สามารถทดสอบได้หากสนใจ แต่อาจไม่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
11. เหตุผลที่ลำเอียงในการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่าง วิธีการ และอุปกรณ์ไม่สมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ที่เกิดการเอนเอียงข้อมูล และมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างไร
12. เพื่อหลีกเลี่ยงการสังเกตที่เอนเอียง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์บางครั้งใช้การสังเกตซึ่งจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุผลในการตั้งข้อสมมติ

C. The Scientific Enterprise

Grades 9 through 12

By the end of the 12th grade, students should know that

1. สมัยอียิปต์, กรีก, จีน, ฮินดู และชาวอาหรับ มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และสร้างเทคโนโลยีโดยอาศัยพื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

2. มีการนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคม

3. ประวัติศาสตร์มีการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปควบคู่กัน

4. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์แตกต่างจากกันในสิ่งที่ต้องการศึกษา เทคนิคการใช้ และการแสวงหาเหตุผล แล้วแต่วัตถุและสงค์ และความรู้ที่ได้มาจากหลากหลายสาขา

5. วิทยาศาสตร์ที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมทางด้านสังคมประกอบด้วย

6. ในการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคมการตัดสินใจของนักวิทยาศาสตร์ต้องอยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณที่เหมาะสม

7. นักวิทยาศาสตร์สามารถนำข้อมูลเชิงลึกและทักษะการวิเคราะห์มาใช้ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์สามารถช่วยให้คนเข้าใจสาเหตุแนวโน้มของเหตุการณ์และ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้

8. นอกจากความเชี่ยวชาญแล้ว นักวิทยาศาสตร์ควรมีความสุข ไม่มีความน่าเชื่อถือเป็นพิเศษ
9. ที่ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมยอมรับส่วนบุคคล, สถาบัน, หรือสิ่งที่น่าสนใจที่จะได้, เขา หรือเธออาจจะมีอคติเป็นอื่นๆ
10 .ธรรมเนียมของวิทยาศาสตร์, รวมถึงคำมั่นสัญญาให้ตำแหน่งเท่ากัน และการประกาศใช้สำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ดีภายในพฤติกรรมเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักจริยธรรม การหลอกลวงถูกเปิดเผยพอ หรือต่อมาโดยวิทยาศาสตร์เอง เมื่อการละเมิดของธรรมเนียมเกี่ยวกับหลักจริยธรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ถูกค้นพบ, เขาที่ถูกตำหนิอย่างแรงโดยชมรมวิทยาศาสตร์, และผู้ละเมิดจะประสบปัญหากับการเอาใจใส่ของนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ
11. การเงินทุนมีอิทธิพลในวิทยาศาสตร์เพราะการตัดสินใจในการค้นคว้าวิจัยเพื่อจะสนับสนุน การค้นคว้าวิจัยที่เงินทุนมาจากบริษัทตัวแทนรัฐบาลสหพันธ์ต่างๆ, อุตสาหกรรม, และมูลนิธิส่วนตัว
12. นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำมาตอบรับเหตุการณ์ของการถกเถียงสาธารณะบ่อยๆ อาจจะมี ข้อมูลเชื่อถือได้เล็กน้อยที่มีอาจจะยังไม่มีทฤษฎีเหมาะสมที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ หรือคำตอบอาจจะรวมถึงการเปรียบเทียบการโกหกภายนอกของวิทยาศาสตร์
13. เพราะว่าวิทยาศาสตร์คือกิจกรรมเกี่ยวกับมนุษย์, สิ่งซึ่งประเมินค่าไว้สูงในอิทธิพลสังคมก็จะประเมินค่าไว้สูงในวิทยาศาสตร์
14. ทิศทางของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ถูกกระทบโดยอิทธิพลไม่เป็นทางการภายในวัฒนธรรมของวิทยาศาสตร์เองเช่นเดียวกันกับความคิดเห็นที่เหนือกว่าซึ่งคำถามส่วนมากน่าสนใจ หรือวิธีของการไต่สวนพอสมควรมีผลมาก กระบวนการซับซ้อนรวมถึงตัวเองนักวิทยาศาสตร์ถูกพัฒนาการเสนอการค้นคว้าวิจัยโดยรับเงินทุน, และคณะกรรมการของนักวิทยาศาสตร์แนะนำความก้าวหน้าในวินัยต่างๆที่จะมีสิทธิก่อนสำหรับการรับเงินทุน
15. การกระจัดกระจายของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรงในความก้าวหน้า ของวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งแสดงการค้นพบของเขาทั้งหลาย และทฤษฎีในกระดาษถูกส่งให้ที่การชุมนุม หรือจัดทำในวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ กระดาษเหล่านั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะแจ้งบอกเกี่ยวกับงานของเขาทั้งหลาย, เพื่อเปิดเผยแนวความคิดของเขาทั้งหลายถูกวิจารณ์โดยนักวิทยาศาสตร์อื่นๆและแน่นอน, เพื่อเป็นแนวเดียวกันของการพัฒนาเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์รอบๆโลก

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

สาขาของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ซึ่งความรู้ต่างๆ เหล่านี้มีอยู่อย่างมากมาย ดังนั้น เพื่อความเป็นระเบียบจึงต้องมีการจัดความรู้ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ตามแต่ละสาขา เช่น ถ้าเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช หรือพรรณไม้ต่างๆ จัดอยู่ในสาขาพฤกษาศาสตร์ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น สัตว์เซลล์เดียวหรือเชื้อจุลินทรีย์ จัดอยู่ในสาขาจุลชีววิทยา เป็นต้น อย่างไรก็ตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งออกอย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท ตามจุดประสงค์ของการแสวงหาความรู้ คือ

1) วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่บรรยายถึงความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ อันประกอบไปด้วย ข้อเท็จจริง หลักการ ทฤษฏี กฎ และสูตรต่างๆ เป็นความรู้พื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มาเพื่อสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็น โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของการค้นหา สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 3 แขนง คือ

(1) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) รวมถึงอุตุนิยมวิทยา และธรณีวิทยา เป็นต้น
(2) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) จุลชีววิทยา เป็นต้น
(3) วิทยาศาสตร์สังคม (Social Science) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้ เพื่อจัดระบบให้มนุษย์มีการดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน อย่างมีแบบแผน เพื่อความสงบสุขของสังคม ประกอบด้วย วิชาจิตวิทยา วิชาการศึกษา วิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

2) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทฤษฏี เช่นแพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542)
วิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นวิทยาศาสตร์ที่นำเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มาประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์การเกษตร การอุตสาหกรรม ทำให้เกิดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สาขาใหม่ เช่น แพทย์ศาสตร์ สัตวแพทย์ศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรม และโภชนาการ เป็นต้น

โดยสรุป คือ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นความรู้ในเรื่องต่างๆ ซึ่งมักเป็นสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่มีลักษณะเป็นทฤษฏี หลักการ กฎ หรือสูตรต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นการใช้ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ โดยเน้นในทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี และมักเป็นสาขาวิชาเฉพาะทาง เช่น แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Type of Scientific Knowledge)
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นลำดับขั้นไว้ 6 ประเภท คือ ข้อเท็จจริง มโนมติ หลักการ สมมติฐาน กฎ และทฤษฎี

1) ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Fact)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของข้อเท็จจริงว่า เป็นข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง
ข้อเท็จจริง เป็นความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งต่างๆโดยตรง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย หรือจากการตรวจวัดโดยวิธีการอย่างง่ายๆ โดยผลที่ได้จากการสังเกตและการวัดต้องเหมือนเดิมไม่ว่าจะกระทำกี่ครั้งก็ตาม และเป็นข้อมูลที่เป็นจริงเสมอไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ข้อเท็จจริงมีลักษณะเป็นข้อความเดี่ยวๆ ที่ตรงไปตรงมา ตัวอย่างของข้อเท็จจริง ได้แก่
- น้ำแข็งลอยน้ำได้ - สุนัขมี 4 ขา
- น้ำไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ - เกลือมีรสเค็ม
- ผลสตรอเบอร์รี่มีสีแดง - ผลทุเรียนสุกมีกลิ่นฉุน
- น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 100เซลเซียส ที่ระดับน้ำทะเล
- พระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
- เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกาะสุมาตราเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
2) มโนมติ (Concept)

คำว่ามโนมตินั้น บางคนใช้คำว่า ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ มโนภาพ หรือ สังกัป ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน มโนมติ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีมโนมติเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแตกต่างกัน

การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดสังเกตวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ และเกิดการรับรู้ บุคคลนั้นจะนำการรับรู้นี้มาสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของเขา ทำให้เกิดมโนมติซึ่งเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์นั้นและทำให้เขามีความรู้ขึ้น (ภพ เลาหไพบูลย์ , 2540 : 3) ซึ่ง มโนมติเป็นความคิดความเข้าใจของแต่ละบุคคล แต่ละบุคคลย่อมมีมโนมติเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแตกต่างกัน ขึ้นกับความรู้เดิมและประสบการณ์ที่มีอยู่ และวุฒิภาวะของบุคคลนั้นๆ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว บางคนอาจบอกว่าเป็นการกระทำของเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บางคนบอกว่าเกิดจากการพลิกตัวของปลาอานนที่แบกโลกไว้ บางคนบอกว่าเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานของเปลือกโลกทำให้พื้นดินเกิดสั่นสะเทือน เป็นต้น หรือหากให้อธิบายลักษณะของต้นมะพร้าว สำหรับเด็กอาจอธิบายว่าเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งลำต้นสูงยาว ไม่มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นแฉกๆ ผลกลมๆ สำหรับนักวิทยาศาสตร์อาจบอกว่ามะพร้าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีระบบรากแบบรากฝอย ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นชัดเจน จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (Family Palmaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera Linn. เป็นต้น

มโนมติอาจเกิดจากการนำข้อเท็จจริงหรือความรู้จากประสบการณ์อื่นๆหลายๆ อย่างมาประกอบกัน แล้วสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ผลทุเรียนมีสีเขียว มีหนามแหลม มีกลิ่นฉุน สามารถแบ่งออกได้เป็นพูๆ สิ่งเหล่านี้ได้จากการสังเกตข้อเท็จจริงย่อย ที่พบว่า ผลทุเรียนมีสีเขียว, ผลทุเรียนมีหนามแหลม, และผลทุเรียนมีกลิ่นฉุน ซึ่งมโนมติเกี่ยวกับทุเรียนนี้เป็นการนำคุณสมบัติที่เหมือนกันของทุเรียนมาใช้อธิบายลักษณะของผลทุเรียน และใช้ในการจำแนกทุเรียนออกจากผลไม้ชนิดอื่น
ตัวอย่างของมโนมติได้แก่
-
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด
- ความร้อนทำให้ร่างกายอบอุ่น
- น้ำแข็ง คือน้ำที่อยู่ในสถานะของแข็ง
- แมลงคือสัตว์ที่มี 6 ขา ลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน
- อากาศมีความสำคัญต่อมนุษย์มากกว่าอาหาร
- ลมเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ
-
สสาร คือสิ่งที่มีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ เป็นต้น

3) หลักการ (Principle)

หลักการ จัดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่งที่เป็นความจริงสามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม เป็นที่เข้าใจตรงกันไม่ว่าจะทดสอบกี่ครั้ง เป็นหลักที่ใช้ในการอ้างอิงได้
ด้วยเหตุนี้หลักการมีลักษณะแตกต่างจากมโนมติตรงที่หลักการเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน สามารถใช้อ้างอิงได้ แต่มโนมติเกี่ยวกับสิ่งเดียวกันของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
(สุโขทัยธรรมาธิราช, 2541 : 26) หลักการอาจผสมผสานจากมโนมติ ตั้งแต่ 2 มโนมติที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน
ตัวอย่างของหลักการได้แก่
แสงจะหักเหเมื่อเดินทางจากตัวกลางชนิดหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
มาจากมโนมติหลายมโนมติ ได้แก่

- แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านน้ำไปสู่กระจก
-
แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านกระจกไปสู่อากาศ
ฯลฯ

4) สมมติฐาน (Hypothesis)
สมมติฐาน คือ ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) สมมติฐานจัดเป็นการลงความคิดเห็นประเภทหนึ่ง เป็นข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้า ก่อนจะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงของเรื่องนั้นๆ ต่อไป สมมติฐานอาจเป็นข้อความหรือแนวความคิด ที่แสดงการคาดคะเนในสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยการสังเกตโดยตรง หรือเป็นสิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น ระหว่างตัวแปรที่เป็นเหตุ (ตัวแปรอิสระ) และตัวแปรที่เป็นผล (ตัวแปรตาม) (เพียร ซ้ายขวัญ, 2536:17-19)
สมมติฐานเกิดจากความพยายามในการตอบปัญหาของนักวิทยาศาสตร์ สมมติฐาน มักเป็นข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาอยู่ โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์ความรู้เดิมเป็นพื้นฐาน หรือเป็นการคาดคะเนที่เกิดจากความเชื่อหรือแรงบันดาลใจของนักวิทยาศาสตร์เอง (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2541: 28)
สมมติฐานไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือพยากรณ์ได้ เพราะยังไม่ได้ผ่านการทดสอบยืนยันว่าเป็นความจริง ดังนั้นสถานภาพของมันจึงเป็นเพียงหลักการวิทยาศาสตร์ชั่วคราวที่ยกร่างขึ้นเพื่อรอการทดสอบต่อไป (เพียร ซ้ายขวัญ, 2536:18)
ในทางวิทยาศาสตร์ สมมติฐานมีความจำเป็นและมีความสำคัญมาก เพราะสมมติฐานจะเป็นสิ่งที่ช่วยชี้แนะแนวทางว่าจะค้นหาข้อมูลอะไรและจะทำการทดลองได้อย่างไร ถ้าปราศจากสมมติฐานแล้วการค้นหาความรู้วิทยาศาสตร์จะไม่เกิดขึ้น ตัวอย่าง ยาเพนิซิลิน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะใช้สำหรับรักษาโรคต่างๆ คงไม่เกิดขึ้น ถ้าเซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมิง ไม่ตั้งสมมติฐานว่า สารเคมีที่ผลิตโดยเชื้อรา Penicillium Notatum มีฤทธิ์ต้านและทำลายแบคทีเรียได้และจากที่ หลุยส์ ปาสเตอร์ ตั้งสมมติฐานว่า ผลที่ได้จากการหมักจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ที่มีปรากฏอยู่ในระหว่างกรรมวิธีการหมักทำให้แก้ปัญหาให้กับผู้ผลิตเหล้าองุ่นที่ประสบปัญหา เนื่องจากเหล้าองุ่นที่ผลิตได้มีรสเปรี้ยวแทนที่จะมีรสหวาน เป็นต้น

ตัวอย่างของสมมติฐานอื่นๆ เช่น
- ถ้าเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้กับพืชมากเกินไป จะทำให้พืชเฉาตาย
- สารสกัดจากผลสะเดาจะสามารถกำจัดแมลงได้ผลดีกว่าสารสกัดจากใบสะเดา
- แสงสีแดงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชมากกว่าแสงสีเขียวและแสงสีน้ำเงิน สมมติฐานเหล่านี้ หรือสมมติฐานอื่นๆจะเป็นที่ยอมรับก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าสมมติฐานนั้นถูกต้องมีหลักฐานหรือเหตุผลมาสนับสนุน ในกรณีที่สมมติฐานมีหลักฐานมาสนับสนุนไม่เพียงพอหรือมีข้อคัดค้าน สมมติฐานนั้นก็ใช้ไม่ได้ต้องถูกยกเลิกไป นักวิทยาศาสตร์ก็จะเสาะหาสมมติฐานอันใหม่ต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม สมมติฐานที่เป็นที่ยอมรับในสมัยหนึ่ง อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกไป เมื่อมีผู้ค้นพบหลักฐานที่คัดค้านสมมติฐานนั้น และก็มีบางสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเป็นเวลานานโดยไม่มีผลการสังเกตหรือผลการทดลองมาคัดค้านได้ สมมติฐานนั้นก็จะได้รับ การยอมรับ และเปลี่ยนไปเป็นหลักการ ทฤษฎี และกฎต่อไป

5) กฎ (Law)

กฎ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับหลักการ คือ ต้องได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง ทดสอบแล้วได้ผลตรงกันทุกครั้ง มีลักษณะที่เป็นจริงเสมอ แต่กฎเป็นหลักการที่มักจะเน้นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งอาจเขียนสมการแทนได้ เช่น กฏของบอยล์ ซึ่งกล่าวว่า ถ้าอุณหภูมิคงที่ ปริมาตรของแก๊สจะเป็นปฏิภาคผกผันกับความดันอยู่ในรูปสมการ คือ (ถ้า T คงที่)

กฎมักจะเป็นหลักการหรือข้อความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการพิสูจน์มาเป็นเวลายาวนานในระดับหนึ่ง จนมีหลักฐานสนับสนุนมากเพียงพอ ไม่มีหลักฐานอื่นที่คัดค้าน จนกระทั่งข้อความนั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องสมบูรณ์ ข้อความนั้นก็จะเปลี่ยนจากหลักการหรือทฤษฎี กลายเป็นกฎ

อย่างไรก็ตาม แม้กฎจะถูกตั้งมาจากข้อความที่ได้รับการยอมรับมานานก็ตาม แต่ในช่วงยุคต่อมา เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีข้อความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นและขัดแย้งกับกฎเดิมๆ และหากพิสูจน์ได้ว่าความรู้ใหม่มีความถูกต้องมากกว่า กฎที่มีอยู่แล้วอาจต้องมีข้อยกเว้นหรือถูกยกเลิกไป เช่น กฎทรงมวล (Law of Conservation of Mass) ซึ่งกล่าวว่า ในปฏิกิริยาเคมี สสารไม่สามารถถูกสร้างหรือถูกทำลายได้แปรความได้ว่า ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนทำปฏิกิริยา จะเท่ากับมวลของสารหลังทำปฏิกิริยา เช่น เมื่อเผาเมอร์คิวริกออกไซด์ (HgO) จะได้ปรอท(Hg) และก๊าซออกซิเจน(O2) ดังสมการ 2HgO + Energy -> 2Hg + O2 ซึ่งมวลของปรอทและก๊าซออกซิเจนที่ได้หลังจากการปฏิกิริยาเคมีจะมีค่าเท่ากับมวลของเมอร์คิวริกออกไซด์ (เอกสารเพิ่มเติม http://www.il.mahidol.ac.th/course/ap_chemistry/mass_relationship/index_ new001.htm )

กฎข้อนี้เป็นกฎพื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไป ในการศึกษาวิทยาศาสตร์เป็นระยะเวลานาน แต่หลังจากได้ศึกษาปฏิกิริยานิวเคลียร์จึงพบว่า กฎนี้ไม่สามารถใช้ได้กับปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งมวลของสารที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์จะน้อยกว่ามวลของสารก่อนทำปฏิกิริยา โดยมวลที่สูญหายไปจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ที่เสนอโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งได้กล่าวถึงมวลและพลังงานไว้ว่า มวลและพลังงานแปรเปลี่ยนสภาพเข้าหากันได้ในภาวะที่เหมาะสมตามสมการ E = mc2 เมื่อ E เป็นพลังงานมีหน่วยเป็นจูล, m เป็นมวลมีหน่วยเป็นกิโลกรัม, c เป็นความเร็วแสงมีค่าเท่ากับ 3 X 108 เมตรต่อวินาที จากการที่พบว่ามวลและพลังงานสามารถเปลี่ยนจากสภาพหนึ่งไปยังอีกสภาพหนึ่งได้นั้น ขัดกับกฎทรงมวลเดิมที่ว่า มวลไม่สามารถสร้างใหม่หรือทำให้สูญหายได้ ต่อมากฎทรงมวลนี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นกฎทรงมวลและพลังงาน (Law of Conservation of Mass - Energy) ซึ่งกล่าวว่า “the total amount of mass and energy in the universe is constant : ผลรวมระหว่างมวลและพลังงานในจักรวาลเป็นค่าคงที่ ซึ่งหมายถึงมวลและพลังงานเป็นสิ่งที่ไม่สูญหายและมีอยู่เท่าเดิม แต่สามารถแปรเปลี่ยนจากสภาพหนึ่งไปอีกสภาพหนึ่งได้

ถึงแม้ว่ากฎ จะเป็นหลักการที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และเขียนเป็นสมการแทนได้ แต่กฎไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ว่า ทำไมความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลจึงเป็นเช่นนั้น สิ่งที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ภายในตัวกฎได้ก็คือ ทฤษฏี ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

6) ทฤษฏี (Theories)

ทฤษฎี คือ ความเห็น ลักษณะที่คิด คาดเอาตามหลักวิชาการเพื่อเสริมเหตุผล และรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542)
ทฤษฎี เป็นความรู้วิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นข้อความที่ใช้ในการอธิบายข้อเท็จจริง หลักการ และกฎต่างๆ หรือกล่าวได้ว่า ทฤษฏีเป็นข้อความที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทั้งหลาย (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2541 : 30)

ในการแสวงหาความจริงของนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ใช้การสังเกตการสรุปรวมข้อมูล การคาดคะเนซึ่งทำให้เกิดความรู้วิทยาศาสตร์ต่างๆ ตั้งแต่ข้อเท็จจริง หลักการ สมมติฐาน และกฎ แต่การจะรู้แต่เพียงว่าข้อเท็จจริงหรือหลักการเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอย่างไร เท่านั้นยังไม่พอ นักวิทยาศาสตร์จะต้องสามารถอธิบายข้อเท็จจริงหรือหลักการนั้นได้ด้วยว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามสร้างแบบจำลอง (model) ขึ้น และเขียนคำอธิบายกว้างๆเกี่ยวกับสิ่งนั้น โดยที่คิดว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้นจะใช้อธิบายข้อเท็จจริงย่อยในขอบเขตที่เกี่ยวข้องนั้นได้และสามารถทำนายปรากฏการณ์ที่ยังไม่เคยพบในขอบเขตของแบบจำลองนั้นได้ เราเรียกแบบจำลองที่สร้างขึ้นนี้ว่า ทฤษฎี (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2541 : 30)

ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับกฎ กฎนั้นอธิบายโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลเป็นหลัก คือบอกได้แต่เพียงว่าผลที่ปรากฏให้เห็นนี้มีสาเหตุอะไร หรือเหตุกับผลสัมพันธ์กันอย่างไร แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ส่วนทฤษฎีนั้นสามารถอธิบายความสัมพันธ์ในกฎได้ เช่น ถ้าเอาขั้วแม่เหล็กที่เหมือนกันมาวางใกล้กันมันจะผลักกันแต่ถ้าขั้วต่างกันมันจะดูดกันนี่คือความสัมพันธ์ที่อยู่ในรูปของกฎ ถ้าจะถามว่าทำไมขั้วแม่เหล็กเหมือนกันจึงผลักกัน การอธิบายความสัมพันธ์นี้ต้องใช้ทฤษฏีโมเลกุลแม่เหล็กมาอธิบายจึงจะเข้าใจ (เพียร ซ้ายขวัญ, 2536 : 15)

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructivism

Constructivism มีแนวคิดหลักว่า ในการเรียนผู้เรียนต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ (active) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยผู้เรียนต้องอาศัยประสบการณ์เดิม และโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกัน ตามลักษณะนิสัย และต้องมีแรงจูงใจเพื่อนำไปสู่การคิดหาวิธีแก้ไข ปัญหาความสำคัญของกระบวนการสร้างความรู้โดยที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมโดยมีครูเป็นผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นผู้เรียน

constructivist ได้กล่าวถึงทฤษฎีของ Piaget มีความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้โดยกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบด้วยกลไกพื้นฐาน 2 อย่างคือ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการปรับโครงสร้าง (accommodation)


1.ธรรมชาติของผู้เรียน

ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพราะฉะนั้น การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมีลักษณะแตกต่างกัน เพราะแต่ละบุคคล จะมีการรับรู้ข้อมูล การตีความข้อมูล หรือการหาแหล่งข้อมูลต่างที่แตกต่างกัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ ดังนั้นผู้เรียนจึงควรมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้

2. บทบาทของผู้สอน
ผู้สอนจะมีหน้าที่ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา หรือคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน และการออกแบบบรรยากาศในการเรียนรู้นั้นจะต้องให้ผู้เรียนเกิดการกระตุ้นการเรียนรู้และต้องมีความท้าทาย จึงทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด

3. กระบวนการลักษณะการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้โดยมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง และสภาพแวดล้อมรอบด้าน



4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ผู้เรียนกับผู้สอนมีความสัมพันธ์กันโดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ซับซ้อน และให้ความรู้ต่างๆ ส่วนผู้เรียนได้ประโยชน์จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอน ทำให้เกิดกระบวนเรียนรู้ การเชื่อมโยงเนื้อหา และเกิดเป็นความรู้ใหม่ กระบวนการคิด

5. การร่วมมือกันระหว่างผู้เรียน
มีการทำงานกลุ่ม มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การยอมรับฟังความคิดเห็น และข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น โดยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ร่วมมือกัน

6. บริบทสำคัญของกระบวนการทัศน์ constructivism
เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีการเชื่อมโยงองค์ความรู้เก่าและความรู้ใหม่


7. ด้านการประเมิน
เน้นประเมินศักยภาพของผู้เรียนที่แท้จริง เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการทำงาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

8. ขอบเขตในการจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากศาสตร์สาขาต่างๆ และการเรียนจะประสบความสำเร็จได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แต่ต้องใช้หลายวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้าง

9. กระบวนการเรียนรู้
- การเรียนรู้แบบการสืบค้น
- การเรียนรู้แบบใช้ปัญหา
- การฝึกกระบวนการคิด
- การเรียนแบบจิ๊กซอว์
10. สรุป constructivism
constructivism เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษา ที่เน้นการสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนต้องสร้างองค์ความรู้ ด้วยการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับความรู้ ใหม่ ซึ่งอาศัยบรรยากาศที่เหมาะสม ด้วยกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หมวด ๔
แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒  การจัดการศึกษาต้องยืดหลักให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ
(ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการอยากเรียนอยากรู้)
 มาตรา ๒๓  การจัดการศึกษา  ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  
(ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเอง)
มาตรา ๒๔  การจัดกระบวนการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการศึกษา
(ในการจัดการเรียนรู้สถานศึกษาและชุมชนต้องมีส่วนร่วมกันเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ)
มาตรา ๒๕  รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์  
มาตรา ๒๖  ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา            
มาตรา ๒๗  ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๒๘  หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐  วรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคสี่ต้องมีลักษณะหลากหลาย  ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพสาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ  ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้  ความคิด  ความสามารถ  ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา  นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว  ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙  ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
มาตรา ๓๐  ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

อนุทินประจำสัปดาห์ที่ 1
วิชา การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ รหัส 01159521 นิสิต ปวท. รุ่นที่ 2
นางสาวยุวรี ไชยโพนงาม e-mail :
tyclovely@hotmail.com รหัสนิสิต 5314650142

วันนี้ดิฉันรู้สึกดีมากเลยไม่เครียดได้เรียนรู้วัฒนธรรมของต่างชาติ ได้รู้สิ่งที่สมาชิกในห้องเรียน รู้ และอยากรู้ เกี่ยวกับหลักสูตร ซึ่งมีข้อมูลที่แตกต่างกัน และอาจารย์มีการสอดแทรกเนื้อหาสาระในส่วนของความหมายของหลักสูตร คือ เอกสารซึ่งต้องเขียนระบุเป้าหมาย ที่ชัดเจน มี การแนะนำกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน และในการสอนนั้น ควรสอน แบบ K A P
และมีการวิเคราะห์สมาชิกภายในห้องทุกคนมีการลงข้อสรุปเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาที่ใช้ในประเทศไทยจะยึดหลักปรัชญา แบบ พิพัฒนนิยม เป็นส่วนใหญ่ และปฏิรูปนิยม ใช้ในโครงงาน ซึ่งผู้เรียนต้องเอาความรู้ไปสร้างสรรค์สิ่งดีๆ
พรบ การศึกษา ปัจจุบันบัญญัติไว้ว่า เด็ก ควร เก่ง ดี มี สุข เช่น การสอนวิทยาศาสตร์แบบวิถีพุทธ

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อนุทินสัปดาห์ที่สองค่ะ

อนุทินประจำสัปดาห์ที่ 2
วิชา การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ รหัส 01159521 นิสิต ปวท. รุ่นที่ 2
นางสาวยุวรี ไชยโพนงาม e-mail : tyclovely@hotmail.com รหัสนิสิต 5314650142

อาจารย์ให้นิสิตทุกคนทำแบบประเมินสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ของนิสิต ซึ่งด้านแรก คือ ธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ (NOS) ซึ่งอาจารย์ให้แต่ละคนให้นิยามของ NOS หลังจากนั้น อาจารย์เล่านิทานเกี่ยวกับเซอร์ไอแซคนิวตันซึ่งเป็นนิทานที่กล่าวถึงการได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ การที่จะเป็นครูมือหนึ่งได้นั้นควรจะมีคุณสมบัติดังนี้ คือ 1. สอนเก่ง 2. วิจัยเก่ง 3.เขียนตำราเก่ง 4. เป็นวิทยากร 5. มีการจัดทำแผนการสอนที่ดี แล้วมีการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ใส่ CD อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการเป็นคนเก่ง แสดงว่า เราต้องมีคำว่า (ถ้า) ตลอดเวลา คือต้องมีการคิดที่จะแก้ปัญหาตลอดเวลา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหาคือ ไอน์สไตน์ เป็นผู้คิดสูตร E =mc2 ปรัชญาในต่างประเทศที่นิยมใช้ คือ ปรัชญาที่ 5 อัตนิยม ( hand on and my on )
และในขณะนี้ปรัชญาของไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับ คือ ไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่สามารถ proof ได้ ซึ่งในสมัย ร. 5 ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ของการศึกษาในประเทศไทย ปรัชญาที่ 5 อัตนิยม สอดคล้อง ตามเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ hand on and my on ซึ่งตรงกับ เพียเจย์ ซึ่งมีการทดลองกับลูกของตนเอง มีระดับสติปัญญา 4 ขั้น และดิฉันได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมค่ะอาจารย์
ขั้นที่1 ...Sensorimotor (แรกเกิด - 2 ขวบ) เพียเจต์ เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่างละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ขั้นที่2... Preperational (อายุ18 เดือน - 7 ปี) เด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้ หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูด เป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้ หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ขั้นที่3 Concrete Operations (อายุ 7 - 11 ปี) พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้แตกต่างกันกับเด็กในขั้น Preperational มาก เด็กวัยนี้จะสามารถสร้าง กฎเกณฑ์และตั้งกฎเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ คือ เด็กจะสามารถที่จะอ้างอิงด้วยเหตุผลและไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กวัยนี้ สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับ (Reversibility) ได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและความสัมพันธ์ของตัวเลขก็เพิ่มมากขึ้น ขั้นที่4 Formal Operations (อายุ 12 ปีขึ้นไป) ในขั้นนี้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอด คือ เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบ เด็กสิ้นสุดลง เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่า ความจริงที่เห็นด้วยกับการรับรู้ไม่สำคัญเท่ากับการคิดถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้(Possibility) เพียเจต์ได้สรุปว่า "เด็กวัยนี้เป็นผู้ที่คิดเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะ สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม"